หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

 1.หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

    ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในการส่งออกสำคัญ นั่นทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการคนงานจำนวนมาก

ทว่าด้วยปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน และงานบางประเภทมีการทำงานซ้ำซ้อนกัน หรืองานเสี่ยงและอันตราย นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำ และรวดเร็วกว่ามนุษย์ อีกทั้งยังอดทนต่อสภาพแวดล้อม จึงถูกนำมาใช้แทนที่ และให้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมแทน

ซึ่งในปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ยังเพิ่มสูงขึ้น ทั้งการสั่งซื้อหุ่นยนต์และการจัดจ้างบุคลากร สอดคล้องกับความต้องการในตลาดที่เพิ่มกำลังการผลิต รวมถึงบำรุงรักษาหุ่นยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ยิ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ใหม่ๆ ออกมามากเท่าไหร่ ก็เป็นการเพิ่มความหลากหลายให้การทำงานและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการผลิตชิ้นงานได้หลากหลายและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น เช่น ระบบออโตเมชั่นในหุ่นรุ่นใหม่ๆ ระบบ IoT ที่ทำให้หุ่นยนต์หลายตัวทำงานชนิดเดียวกันได้ด้วยการสั่งการจากคนเพียงคนเดียว


-หุ่นยนต์เชื่อม

หนึ่งในหุ่นยนต์สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์มีการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้สูง

โดยหุ่นยนต์เชื่อมจะมีลักษณะเป็นแขนหุ่นที่มีส่วนปลายเป็นหัวเชื่อมเหล็ก มักทำงานร่วมกับระบบสายพานที่คอยส่งวัสดุเข้ามาในระยะ แขนหุ่นจะทำการเชื่อมวัสดุตามจุดต่างๆ โดยอัตโนมัติตามที่มีการตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำมากกว่ามนุษย์

ตัวอย่างเช่น Fanuc ARC Welding Robot ที่มีการออกแบบมาเพื่อการเชื่อมไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถรับน้ำหน้กได้ถึง 20 กก. และมีระยะเอื้อม 2 เมตร ใช้ได้ทั้งการเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมเลเซอร์ บัดกรี หรืองานตัดประเภทต่างๆ


รูปหุ่นยนต์เชื่อม


วิดีโอตัวอย่างของหุ่นยนต์เชื่อม



2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

    อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ตั้งแต่ที่ General Motors นำ UNIMATE มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 หลังจากนั้น การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปรับปรุงให้หุ่นยนต์มีต้นทุนที่ต่ำลง มีความยืดหยุ่น เสริมระบบการทำงานร่วมกันและแทนที่หุ่นยนต์แบบดั้งเดิมที่ยุ่งยากและไม่ยืดหยุ่น

การใช้หุ่นยนต์ช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์สามารถเร่งการผลิต ลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ และป้องกันคนงานจากอันตราย หุ่นยนต์ทำงานร่วม (หรือ 'โคบอท') ได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ รวมถึงความสามารถในการปรับใช้โคบอทในการทำงานที่ใกล้ชิดกับมนุษย์โดยไม่ต้องมีรั้วกั้น โคบอทช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปลดปล่อยคนงานจากงานที่น่าเบื่อ สกปรก และอันตรายได้ นอกจากนี้ โคบอทยังพร้อมทำงานทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน ไม่เว้นวันหยุด


 

รูปภาพหุ่นยนต์ประกอบรถยนต์


วิดีโอของหุ่นยนต์ประกอบรถยนต์



3.หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

    นับจากหุ่นยนต์ตัวแรกที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลกตั้งแต่ยุคก่อนคริสต์ศักราชโดยฝีมือของนักคณิตศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวกรีกด้วยการประดิษฐ์นกพิราบกลที่ขยับปีกขึ้นลงได้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนจากไอน้ำ ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจในการคิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์อีกหลายตัวต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี ค.ศ.1961 มีวิศวกรชาวอเมริกาประดิษฐ์แขนกลหุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรมเป็นตัวแรกของโลก เพื่อให้ทำงานอันตรายในโรงงานประกอบรถยนต์แทนมนุษย์ เรียกได้ว่าเป้าหมายในการพัฒนาหุ่นยนต์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงจนถึงวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักหุ่นยนต์ เพราะหุ่นยนต์ในปัจจุบันได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้งานในหลากหลายมิติ นอกจากในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีด้านการแพทย์ การวิจัย เป็นผู้ช่วยในบ้าน ดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ และที่หลายคนอาจยังไม่รู้จักก็คือ หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงของประเทศในรูปแบบของ หุ่นยนต์เก็บกู้-ทำลายล้างวัตถุระเบิด




รูปภาพหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด


วิดีโอตัวอย่างของหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด




4.หุ่นยนต์อัจฉริยะ



-หุ่นยนต์Temi ผู้ช่วยอัจฉริยะ

หุ่นยนต์ที่มาพร้อมหน้าจอแท็บเล็ตทำงานอัตโนมัติ ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อบ้านแม่บ้านส่วนตัวช่วยจัดการชีวิตทั้งยังอำนวยความสะดวกสบายให้สมาชิกในบ้าน ทำให้สมาชิกในบ้านใช้ชีวิตง่ายขึ้น




รูปภาพหุ่นยนต์Temi ผู้ช่วยอัจฉริยะ


วิดีโอตัวอย่างของหุ่นยนต์Temi ผู้ช่วยอัจฉริยะ




นาย ฮัมดี มะสะแม รหัส 646715082


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทความทางด้านเทคโนโลยีสื่อสาร

สายพานลำเลียงและ รถ agv

เรื่อง เครื่องจักร NC CNC DNC